กระบวนการอันควรแห่งกฎหมาย (Due process) ของ กฎหมายเกาหลีใต้

ทั้งรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายอาญาได้มีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการออกกฎหมายที่มีย้อนหลังเป็นโทษและบทบัญญัติที่ขัดต่อกระบวนการอันควรแห่งกฎหมาย (due process) นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังให้หลักประกันทางกฎหมายโดยบัญญัติให้มีการออกหมายจับ คุมขัง ค้น หรือยึดทรัพย์ เว้นแต่กรณีที่เป็นความผิดซึ่งหน้า (in flagrante delicto) หรือในกรณีที่ผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดอาญาร้ายแรงอาจจะหลบหนีหรือทำลายหลักฐาน และในกรณีดังกล่าวต้องมีการออกหมายในภายหลัง[4]นอกจากนี้ห้ามมิให้ทรมานหรือข่มขู่ผู้ต้องสงสัยให้ให้การที่เป็นปรปักษ์ต่อตนเอง[5] และรัฐธรรมนูญยังบัญญัติให้ผู้ที่ถูกจับกุมในคดีอาญาต้องได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษา (โดยการเลือก หรือแต่งตั้ง) แจ้งข้อกล่าวหา และแจ้งสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษา[6] มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล (right to petition) ให้ได้รับการประกันตัว (habeas corpus) และผู้ที่ถูกจับกุมในคดีอาญายังมีสิทธิที่จะแจ้งให้ครอบครัวหรือญาติสนิททราบถึงเหตุผล เวลา และสถานที่ถูกคุมขัง [7]